วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

ผลกระทบต่อโครงข่ายเดิม


เทคโนโลยีการสร้างระบบเครือข่ายผ่านทางระบบสายไฟภายในบ้านซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้สายไฟฟ้าเป็นเส้นทางสื่อสารข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างระบบเครือข่ายภายในบ้านสำหรับการสื่อสารข้อมูลขึ้นมาใช้งานได้ทันที กล่าวได้ว่า ถ้าส่วนไหนภายในบ้านเรามีปลั๊กก็จะสามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้โดยไม่ต้องเสียค่าติดตั้งสายสัญญาณ
การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในบ้านส่วนใหญ่จะใช้ระบบ ADSL จากผู้ให้บริการซึ่งมีด้วยกันหลายราย โดยติดตั้ง ADSL MODEM ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ แต่ถ้าต้องการให้ห้องทุกห้องสามารถใช้สายไฟฟ้าในการต่ออินเทอร์เน็ตในกรณีที่เป็นหอพักหรือโรงแรมที่มีจำนวนห้องมาก ๆ ก็ต้องใช้ระบบเครือข่ายผ่านทางระบบสายไฟภายในบ้าน ปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตมีความจำเป็นมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การติดต่อ สื่อสารหรือความบันเทิง ซึ่งได้สอดแทรกเข้ามาในชีวิตประจำวันมากขึ้น กิจการหอพัก คอนโดมิ เนียม หรือโรงแรม ธุรกิจเหล่านี้มีการแข่งขันกันมากขึ้น การให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็เป็น การบริการลูกค้าที่ทันต่อยุคสมัย โดยการลงทุนที่ไม่สูง ไม่ต้องเดินสายสำหรับเครือข่ายภายใน สามารถใช้สายไฟฟ้าที่มีอยู่ในห้องพักและเพิ่มเติมอุปกรณ์เฉพาะที่ต้นทางและปลายทาง

โครงข่ายเดิมนั้นจะเป็นแบบลักษณะการเชื่อมต่อโดยผ่านทางสายโทรศัพย์หรือถ้าเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์ก็จะผ่านสาย สาย LAN ที่เชื่อมกันโดยผ่าน Router หรือจะใช้เป็น Wireless LAN หรือจะเป็น มาตรฐานของ HomePNA ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ LAN โดยจะนำข้อมูลระบบที่ใช้ต่างๆ มาเปรียบเทียบดังนี้

- Ethernet , Fast Ethernet , Ethernet 10/100
ความเร็ว : Ethernet 10 Mbps, Fast Ethernet 100 Mbps, Ethernet 10/100 Mbps 10 Mbps and 100 Mbps
อุปกรณ์นำสัญญาณ : สาย UTP
ระยะทาง : 328 ฟุต (จากเครื่องคอมพิวเตอร์ถึง HUB)
จำนวนอุปกรณ์สูงสุดที่ต่อได้ : ไม่กำหนดจำนวนสูงสุด
เน็ตเวิร์กการ์ดที่ใช้ : ISA และ PCI adapters, 16-bit PC Card และ 32-bit CardBus PC Card, และ USB adapters
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ : HUB หรือ Network Switch
ข้อดี : ลงทุนต่ำ, ความเร็วสูง และเป็นเทคโนโลยีที่ใข้กันอย่างแพร่หลาย มีความเสถียรอยู่ในระดับที่ดี
ข้อเสีย : การเชื่อมต่อแบบใช้สายเคเบิล ต้องมีการจัดการเรื่องการวางของเครื่องคอมพิวเตอร์ การอัพเกรด Slot ในการใส่เน็ตเวิร์กการ์ด และการเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็เป็นการเพิ่มการใช้สายเคเบิล ไปพร้อมกันด้วย

- HomePNA 1.0 , HomePNA 2.0
ความเร็ว : HomePNA 1.0 1 Mbps, HomePNA 2.0 ความเร็ว 10 Mbps
อุปกรณ์นำสัญญาณ : สายโทรศัพท์ภายในบ้าน ผ่านหัว RJ-11
ระยะทาง : 1000 ฟุต
จำนวนอุปกรณ์สูงสุดที่ต่อได้ : 50 อุปกรณ์ที่ยังสามารถทำงานได้ที่ 10 Mbps
เน็ตเวิร์กการ์ดที่ใช้ : PCI adapters; USB adapters เพราะขณะนี้ ยังไม่มีอุปกรณ์เฉพาะ
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ : ไม่มี
ข้อดี : สะดวกในการเชื่อมต่อ และไม่ต้องลงทุนสูง
ข้อเสีย : ถ้าในกรณีของโทรศัพท์หลายสายผ่านแจ็คตัวเดียวกัน จะต้องใช้ ตัวแยกสัญญาณ, ความเร็วที่ได้ไม่มากนัก

- IEEE 802.11 Wireless
ความเร็ว : IEEE 802.11b = 11 Mbps ; IEEE 802.11g และ 802.11a = 54 Mbps
อุปกรณ์นำสัญญาณ : ย่านความถี่คลื่นวิทยุ 2.4 GHz (802.11b , 802.11g) ย่านความถี่คลื่นวิทยุ 5 GHz (802.11a)
ระยะทาง : 25-500 เมตร
จำนวนอุปกรณ์สูงสุดที่ต่อได้ : 128
เน็ตเวิร์กการ์ดที่ใช้ : PCI adapters; USB adapters
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ : ไม่มี
ข้อดี : สามารถได้ใน Location แบบไหนก็ได้ แต่ภายในระยะ 25-500 เมตร, ความเร็วค่อนข้างสูงสำหรับเทคโนโลยี Wireless Network
ข้อเสีย : ลงทุนสูง

- Powerline Home Plug จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ PLC
ความเร็ว : 14 Mbps
อุปกรณ์นำสัญญาณ : ผ่านสายไฟฟ้าภายในบ้าน
ระยะทาง: ไกลเท่าไรก็ได้ขอแค่เป็นสายไฟในวงจรเดียวกัน
จำนวนอุปกรณ์สูงสุดที่ต่อได้ : ไม่กำหนด
เน็ตเวิร์กการ์ดที่ใช้ : ยังไม่มีผลิตออกมาเฉพาะ
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ : ไม่มี
ข้อดี :
- สายไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานภายในบ้าน ทำให้สะดวกในการเชื่อมต่อ
- การเชื่อมต่อระหว่างห้องไม่ต้องเจาะผนังอาคารให้การตกแต่งเสียหาย- การเชื่อมต่อระหว่างชั้นของตึกทำได้ง่ายโดยไม่ต้องแก้ไขโครงสร้าง
- สามารถติดตั้งใช้งานเป็นการชั่วคราวได้ เคลื่อนย้ายสะดวก ง่ายต่อการที่ต้องย้ายจุดทำงานบ่อยๆ
- ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟใหม่ เพียงติดตั้งก็ใช้งานได้ทันที
- ติดตั้งง่าย รวดเร็ว และสะดวกสบาย
- ราคาประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งค่าติดตั้ง ค่าเดินสาย
- รองรับอุปกรณ์ต่อเชื่อมได้หลายชนิด เช่น เครื่องพิมพ์หรือเครื่องใช้อื่นๆไม่จำเป็นต้องต่อสายตรงเข้าที่คอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องมีการ์ด เพื่อติดตั้งเข้าไปในคอมพิวเตอร์ แม้ว่าระบบภายในบริษัทจะอยู่บนพื้นฐานของ PCI
- ปัจจุบันสามารถทำความเร็วในการเชื่อมต่อได้ที่ 14 Mbps และในอนาคตจะเชื่อมต่อได้ที่ 100 Mbps
ข้อเสีย : ยังมีเรื่องของสัญญาณรบกวน และความปลอดภัยที่ต้องคำนึงถึง

ถ้าถามว่าจะมีผลกระทบต่อโครงข่ายเดิมหรือไม่นั้น ก็คือจะใช้ระบบเครือข่ายผ่านทางระบบสายไฟภายในบ้านมีความสะดวกกว่าระบบเดิมมากขึ้น เนื่องจากเพียงเสียบปลั๊กสามารถทำงานได้ (อุปกรณ์ Homeplug) และเมื่อต้องการย้ายจุดติดตั้ง สามารถถอดปลั๊ก และเสียบปลั๊กที่จุดติดตั้งใหม่ได้ทันที จะช่วยลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย แล้วประหยัดเวลาได้ แต่อาจมีปัญหาอื่นตามมา เช่น ประสิทธิภาพการสื่อสารข้อมูลของระบบลดลงหากติดตั้งและใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์จำนวนมากในระบบ หรือการเกิดสัญญาณรบกวนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่ใช้สายไฟฟ้าอยู่พร้อมกับตัวระบบ สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ใช้ในบ้านที่จะต้องคำนึงถึง Application ที่จำเป็นต้องใช้ และข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีแต่ละแบบด้วย รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับกลับมา ที่สำคัญคงต้องมองถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเงินให้ได้มา เพื่อความคุ้มค่าให้มากที่สุด

อ้างอิง
Home networking เรื่องจริง!! ที่คุณต้องรู้ โดย Ms.Blue
http://www.thaiinternetwork.com/content/detail.php?id=0145

ระบบเครือข่ายใช้สายไฟฟ้า (Powerline Networking) โดย wu mit9
http://www.vcharkarn.com/varticle/17795/1

เทคโนโลยีและมาตรฐานของ Power Line Communications (PLC)

เทคโนโลยีและมาตรฐานของ Power Line Communications (PLC)

ด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยีระบบ เครือข่ายที่ก้าวล้ำ งานวิจัยที่ก้าวหน้าจึงมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ออกมาสนองตอบต่อการใช้งานอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้ง ให้ความยืดหยุ่นในการใช้งานให้ความคุ้มค่าด้วยการใช้งาน ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมได้ HomePlug Network หรือ Powerline Communications (PLC) จึงได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อให้การใช้งานระบบเครือข่ายผ่านสายไฟฟ้าที่มีอยู่ภายในอาคารได้ ช่วยลดต้นทุนการวางระบบไม่ต้องเจาะผนังอาคาร ลดข้อ ยุ่งยากในการ วางสายนำสัญญาณ พร้อมรองรับระบบที่มีอยู่เดิมทั้งเครือข่ายในแบบใช้สายและไร้สายได้อีก จึง เพิ่มเติมผสมผสานระบบเครือข่ายแบบต่างๆ เพื่อ ขยายการใช้งานให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นไปอีก HomePlug Network จึงเป็นโซลูชั่นสำหรับ SOHO ที่ให้ทั้งความยืดหยุ่นและความคุ้มค่า

สื่อสารได้ไกลถึง 300 เมตร
ข้อดีของ HomePlug ก็คือ ให้ระยะทางการเชื่อมต่อเครือข่ายได้มากกว่าเครือข่าย Copper Ethernet โดยให้ระยะทางการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้า ได้มากถึง 300 เมตร

ให้แบนด์วิดท์การใช้งานสูงสุด 14Mbps
สำหรับการแลกเปลี่ยนสื่อสารผ่านเครือข่าย HomePlug Network ให้แบนด์วิดท์การใช้งานสูงสุด 14Mbps จึงพอเพียงสำหรับการใช้งาน แอพพลิเคชั่นผ่านเครือข่าย ตอบสนองการแลกเปลี่ยนไฟล์งาน ไฟล์เอกสาร ไฟล์ข้อมูลมัลติมีเดียโดยทั่วๆ ไปได้


ติดตั้งได้ง่ายในแบบ Plug and Play
เพียงเสียบเข้ากับปลั๊กไฟ ติดตั้งไดรเวอร์ พร้อมคอนฟิกค่าการทำงานของเครือข่ายในแบบปกติ จึงไม่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการติดตั้ง พร้อมเสมอ สำหรับงานเครือข่าย

ปกป้องข้อมูลอันมีค่าด้วย DES 56-bit
มั่น ใจได้ในการปกปักษ์ข้อมูลอันมีค่าได้ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยในการใช้งาน เครือข่าย ด้วยฟังก์ชันการเข้ารหัสแบบ DES 56-bit จึงสร้างความ มั่นใจว่า ตลอดการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้าข้อมูลอันมีค่าจะได้รับการปกป้องสูงสุด

คุ้มครองเงินลงทุนด้านระบบเครือข่าย
ด้วยการแลกเปลี่ยนสื่อสารโดยผ่านสายไฟฟ้าที่มีอยู่ภายในอาคารจึงไม่ต้องลงทุนด้านการวางสายนำสัญญาณเช่นระบบเครือข่ายชนิดอื่นๆ ช่วยลดต้นทุน ด้านระบบ ลดค่าใช้จ่ายของสายนำสัญญาณ

รองรับการขยายระบบได้อย่างยืดหยุ่น
HomePlug Network นอกจากจะใช้สายไฟฟ้าในการสื่อสารแล้ว ก็ยังตอบสนองกับการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย Ethernet ที่มีอยู่ได้ ทั้งยังลดข้อ จำกัดในบริเวณที่เครือข่าย Ethernet ไม่สามารถทำได้ เดินสายลำบาก ไม่ต้องการเจาะผนังเพื่อวางสายนำสัญญาณมาเป็นการเลือกใช้ HomePlug แทน พร้อมตอบรับกับการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายไร้สายผ่าน Access Point ช่วยให้การขยายระบบเพื่อการใช้งานที่ครอบคลุมได้โดยไร้ข้อจำกัด

HomePlug Network Solution จึงเป็นระบบ เครือข่ายที่ตอบสนองการใช้งานสำหรับองค์กรขนาดเล็ก โฮมออฟฟิศ หรือบ้านเรือน ที่พักอาศัยที่ต้องการความสะดวกในการติดตั้ง ง่ายต่อการใช้งาน ลดต้นทุนด้านการวางระบบ เป็นอีกหนึ่งโซลูชันเครือข่ายคุณภาพ นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายโซลูชั่นที่ครอบคลุมความต้องการในทุกระดับให้เลือกใช้งานทั้ง Home User, SMEs, SOHO, Enterprise




เทคโนโลยี PLC ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต chipset เช่น INT6000 ของ Intellon เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็น adapter สำหรับโครงข่ายความเร็วสูงเพื่อความบันเทิงภายในบ้าน รวมถึงการส่งสัญญาณภาพแบบ High Definition (HD) และ Standard Definition (SD) ซึ่งตรงตามคุณสมบัติเฉพาะของ HomePlug AV (แต่ไม่สามารถใช้ร่วมกับ HomePlug 1.0 หรือ Intellon’s proprietary 85 Mbps Turbo mode) และ DS2 DSS9 เป็น chipset ของ Design of Systems on Silicon ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับมาตรฐานของ Universal Powerline Association สามารถรองรับการให้บริการ triple play ได้ นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตราบอื่นอีก เช่น Panasonic และ SiConnect เป็นต้น เทคโนโลยี PLC ใช้ modulation แบบ OFDM – Orthogonal Frequency Division Multiplexing และใช้ช่องสัญญาณแบบ TDD และ FDD สามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 200 Mbps ที่ระดับ Physical layer และ 130 Mbps ที่ระดับ Application layer แต่ throughput จะต่ำมาก จึงต้องกำหนดมาตรฐานเรื่อง QoS – Quality of Service และ CoS – Class of Service ส่วนมาตรฐานใช้งานที่มีการแข่งขันกันในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาตลอดเวลา เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในขณะนี้ เช่น HomePlug Powerline Alliance, Universal Powerline Association, ETSI – European Telecommunications Standards Institue และ IEEE เป็นต้น ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่ามาตรฐานใดจะเหมาะสมที่สุด ดังจะได้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้

4.1 ETSI Project PLT (PLT – Power-Line Telecommunication)
ได้ ทำการศึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานและคุณสมบัติเฉพาะ ที่ครอบคลุมในเรื่องการให้บริการเสียงและข้อมูลผ่านสายไฟฟ้า ระบบ MV และ LV รวมทั้งสายไฟฟ้าภายในบ้าน มาตรฐานนี้กำหนดให้อุปกรณ์ของผู้ผลิตแต่ละรายสามารถใช้งานร่วมกันได้ (interoperability) กับระบบไฟฟ้าที่มีอยู่ และมาตรฐานจะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ EU/EC

4.2 HomePlug Powerline Alliance

HomePlug Powerline Alliance เป็นกลุ่มพันธมิตรทางการค้าประกอบด้วยสมาชิก 65 ราย ก่อตั้งเมื่อ เดือนมีนาคม ปี 2000 โดยบริษัทที่เป็นทางเทคโนโลยี รวมตัวกันกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และบริการสำหรับโครงข่ายภายในบ้านที่ใช้สายไฟฟ้า กลุ่มพันธมิตรนี้มีผู้ให้การสนับสนุน และคณะผู้บริหาร ประกอบด้วย GE, Earthlink, Intel, Lynksys, Motorola, Samsung, Sharp และ Sony เป็นต้น มีหน้าที่ส่งเสริมและดำเนินการในเรื่องมาตรฐานให้เป็นรูปธรรม เนื่องจากมาตรฐาน HomePlug เกิดจากความร่วมมือของหลากหลายบริษัทจากทั่วโลก ทำให้ได้มาตรฐานที่มีคุณภาพสูง เช่น
• HomePlug 1.0 – มาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงผ่านสายไฟฟ้าภายในบ้านที่สามารถส่งข้อมูลได้ 8.2 Mbps
• HomePlug AV – ใช้สำหรับส่ง HDTV และ VoIP ภายในบ้านที่สามารถส่งข้อมูลได้ประมาณ 150 Mbps
• HomePlug BPL – ใช้เป็น broadband access เพื่อใช้งานในบ้าน
• HomePlug CC(Command and Control) – เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ และลงทุนน้อย ใช้สำหรับสั่งการ และควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ตลอดจนการเฝ้าระวังความปลอดภัยภายในบ้าน

4.3 IEEE
• IEEE P1675 – “Standard for Broadband over Powerline Hardware” มาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ broadband ที่ใช้งานผ่านสายไฟฟ้า และความปลอดภัยในการติดตั้ง
• IEEE P1775 – “Powerline Communication Equipment – Electromagnetic Compatibility (EMC) Requirements Testing and Measurement Methods” เป็นคณะทำงานที่เน้นในเรื่องของอุปกรณ์ PLC ที่เกี่ยวข้องกับ EMC รวมถึงวิธีทดสอบและการวัดค่าต่างๆ
• IEEE BPL Study Group – “ Standardization of Broadband Over Power line Technology” อยู่ระหว่างการกำหนดคณะทำงานในหัวข้อที่น่าสนใจ
• IEEE P1901 – “Draft Standard for Broadband over Power Line Network : Medium Access Control and Physical Layer Specifications” เป็นคณะทำงานที่กำหนดมาตรฐานการให้บริการ broadband ผ่านสายไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายในการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของ Medium Access Control และ Physical Layer สำหรับอุปกรณ์ BPL ทั้งที่ชุมสาย และภายในบ้าน

4.4 OPERA

Open PLC European Research Alliance เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาซึ่งได้รับการอุดหนุนจาก European Commission มีวัตถุประสงค์ที่จะปรับปรุงระบบที่มีอยู่แล้ว พัฒนาบริการ PLC และกำหนดมาตรฐานของ PLC

4.5 Universal Powerline Association (UPA)

UPA เป็นผู้วางกรอบให้ผู้นำทางการตลาดด้านอุตสาหกรรม PLC ในตลาดโลก ซึ่งครอบคลุมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์ด้าน access และอุปกรณ์ภายในบ้าน ดำเนินการให้เกิดการแข่งขันเสรี และเป็นธรรม ในการนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาติดตั้งใช้งาน และสามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง UPA มีการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ UPA Digital Home Standard สำหรับใช้งานเป็นโครงข่ายภายในบ้าน และมาตรฐาน OPERA สำหรับ BPL Power line access

เอกสารอ้างอิง

สารานุกรมโทรคมนาคมไทย : http://www.ecti.or.th
ข้อมูลจากประชาชาติ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2550
www.sewu-cat.com
กฟภ. : http://www.pea.co.th/th/index.php
http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=69397
สำนักส่งเสริมและพัฒนาด้านเทคนิค  : http://center.prd.go.th/engineer/
www.it.co.th
ไอทีเว็บKnowledge Center : http://www.it.co.th/internet2.php?act=plc#topplc
ทางเลือกหนึ่งของการให้บริการโทรคมนาคมเพื่อลดช่องว่าง Digital Divide 
โดย สุเมธ อักษรกิตติ์ (วุฒิวิศวกรไฟฟ้ากำลัง) : http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=69397
Home networking เรื่องจริง!! ที่คุณต้องรู้ โดย Ms.Blue: missblue26@hotmail.com
http://www.thaiinternetwork.com/content/detail.php?id=0145
ระบบเครือข่ายใช้สายไฟฟ้า (Powerline Networking) โดย wu mit9
http://www.vcharkarn.com/varticle/17795/1

บทนำ

           ในปัจจุบันการใช้งานระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานด้าน Internet ด้านโทรคมนาคม เพื่อการติดต่อสื่อสารที่สะดวก รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่ถูกลง ทำให้ปริมาณการใช้บริการ ปริมาณบริการที่หลากหลาย และผู้ให้บริการหลากหลายทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกเข้าถึงบริการที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคลได้โดยง่าย เพื่อให้การใช้บริการเหมาะสมและได้ประโยชน์สูงสุด

          เทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาด้านบริการ ที่หลากหลาย รวมไปถึงประยุกต์การใช้งานให้สะดวกและเหมาะสมกับชีวิตประจำวันของผู้ใช้บริการสูงสุด  โดยคำนึงถึงการเข้าถึงบริการ ค่าใช้จ่ายในการรับบริการ และสภาพโครงข่ายของแต่ละพื้นที่ เพื่อทำให้ลดต้นทุนและเกิดประโยชน์สูงสุด หากแต่ว่า เทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้านยังเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่สำหรับประเทศไทย และเป็นช่วงเริ่มต้นของเทคโนโลยีนี้ในประเทศไทย จึงยังอยู่ระหว่างการทดสอบระบบ โดยพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความมั่นใจต่อผู้ใช้บริการที่มีต่อระบบ ถึงแม้ว่าจะได้รับการใช้งานจริงในต่างพื้นที่ หรือต่างประเทศแล้ว แต่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างด้านพื้นฐานเทคโนโลยี สังคม ความรู้ เศรษฐกิจ และพฤติกรรมการใช้บริการเครือข่าย ของแต่ละพื้นที่

          เทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน มีความเป็นได้ในการที่จะได้ใช้บริการต่าง ๆ ผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน เพราะระบบไฟฟ้าครอบคลุมต่อจำนวนประชากรของประเทศไทยที่ครอบคลุม จึงลดต้นทุนในการวางโครงข่ายพื้นฐานของระบบ ทำให้ต้นทุนลดลง มีผลทำให้ค่าใช้บริการก็น้อยลงตามไปด้วย  ถ้าหากระบบได้รับการทดสอบและสรุปข้อมูล และอนุญาต ให้ใช้ระบบได้ในประเทศ คงดีไม่น้อยที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ ตามความต้องของแต่ละบุคคล โดยไม่มีข้อจำกัดอยู่ในเฉพาะเมืองใหญ่ เพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาของประเทศในด้าน การศึกษา เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และด้านบุคคล

          

การประยุกต์ใช้งาน

การประยุกต์ใช้งาน เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้า (Power Line Communications-PLC)
เป็นการนำเทคโนโลยีที่ใช้สายไฟฟ้าในระบบจ่ายไฟฟ้าตามอาคาร บ้านเรือนมาใช้เป็นโครงข่ายท้องถิ่น(access network) แทนคู่สายโทรศัพท์ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร และสามารถรองรับบริการในรูปแบบเสียง ข้อมูล และมัลติมีเดีย รวมถึงติดต่อกับเครือข่าย Internet ความเร็วสูง ทั้งในส่วนของผู้ให้บริการสาธารณูปโภค เช่น การไฟฟ้า และประชาชนทั่วไปที่เป็นลูกค้าของการไฟฟ้า ดังตัวอย่างต่อไปนี้

• ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน
การนำมาใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน เช่น โทรทัศน์ เครื่องเสียง ระบบไฟแสงสว่าง การรักษาความปลอดภัยภายในบ้านโดยใช้กล้องวีดีโอ โดยการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมจะทำการ inject คลื่นพาห์(carrier wave) ที่ความถี่ระหว่าง 20 – 200 kHz เข้าไปในสายไฟฟ้าผ่านเครื่องส่ง และจะ modulate สัญญาณดิจิตอลไปด้วยส่วนฝั่งรับในระบบจะมี address ซึ่งสมารถควบคุมได้โดยสัญญาณที่ส่งมาและจะถูกถอดรหัสที่เครื่องรับโดยอุปกรณ์ที่ใช้สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กไฟบ้านแล้วสามารถใช้งานได้เลย

• ใช้เป็นโครงข่ายภายในบ้าน
การนำมาใช้เป็นโครงข่ายคอมพิวเตอร์ ภายในบ้าน อาคาร หรือภายในสำนักงาน โดยเสียบอุปกรณ์เข้ากับปลั๊กไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม แต่โครงข่ายใช้งานได้ในระยะใกล้ๆระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ไม่เกิน 100 เมตร

• ใช้เป็น Internet access
การนำมาใช้งานเพื่อเข้าถึงโครงข่าย Internet หรือเรียกว่า Broadband over powerline (BPL) ที่ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม เช่น การรับส่งข้อมูลข่าวสาร ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ เป็นต้น โดยจะใช้ BPL Modem เป็นอุปกรณ์ทำหน้าหน้าที่ในการแปลงสัญญาณให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับบริการ cable modem หรือ DSL จะดีกว่าตรงที่สามารถใช้ ระบบไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วทั่วไปทำให้สามารถเข้าถึง internet ได้มากขึ้น และสะดวกที่จะนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ มาเชื่อมต่อ แต่การให้บริการยังไม่มีมาตราฐานเป็นที่ยอมรับ ยังเป็นการใช้งานเฉพาะกลุ่ม ซึ่งต้องมีการพัฒนาต่อเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เช่นขนาดของ bandwidth และการรบกวนทางวิทยุ เป็นต้น ตัวโมเด็มมีอัตตราการรับส่งข้อมูลแบบ asymmetry ที่ 256 kbps-2.7Mbps ที่ repeater อัตตราเร็วสูงสุดที่ 40Mbps และสามารถต่อโมเด็มได้ 256 จุด ส่วนที่สถานีจ่ายไฟความเร็วที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet อยู่ที่ 135Mbps


ความแตกต่างด้านระบบจ่ายไฟฟ้าในประเทศต่างๆมีผลต่อการนำ BPL มาใช้งาน คือเปรียบเทียบระหว่างหม้อแปลงขนาดเล็กที่จ่ายกระแสไฟฟ้าแรงต่ำให้บ้านเรือนไม่มากนักและที่อยู่กระจาย กับหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่กระจายกระแสไฟฟ้าแรงต่ำให้กับบ้านเรือนเป็นร้อยหลังคาเรือนจึงทำให้เกิดปัญหาที่แตกต่างกัน เนื่องจาก BPLไม่สามารถแพร่ผ่านหม้อแปลงได้ จึงจำเป็นต้องมี repeater ติดตั้งที่หม้อแปลงทุกเครื่องที่สัญญา BPL ผ่านดังนั้นระบบจ่ายฟ้าที่ใช้หม้อแปลงขนาดเล็กจำเป็นต้องใช้repeaterที่มากกว่าอีกทั้งการให้บริการกับหม้อแปลงขนาดเล็กต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ (MV coupling) เพื่อสามารถให้บริการลูกค้าหลายรายที่อยู่ในระบบจ่ายไฟฟ้าที่หม้อแปลงจุดอื่นได้ด้วยและเนื่องจาก bandwidth ถูกจำกัดในสายไฟฟ้าเดียวกันจึงทำให้ใช้งานพร้อมกันได้ไม่มาก
การส่งสัญญาณ BPL ไปตามสายไฟฟ้ามีส่วนรบกวนสัญญาณวิทยุอื่นๆ แต่ปัจจุบันโมเด็ม BPL สมัยใหม่ใช้เทคในโลยี OFDM ซึ่งจะลดการรบกวนบริการวิทยุสื่อสารอื่น จากการทดลองจะมีการรบกวนเกิดขึ้นเมื่อสายอากาศของวิทยุสมัครเล่นอยู่ใกล้สายไฟฟ้าที่ส่งสัญญาณ BPL เท่านั้น และเป็นการลดคุณภาพของ BPL ลดลงด้วย และจากการศึกษาการใช้ความถี่ย่าน microwave ส่งไปตามผิวของตัวนำ และใช้สายไฟฟ้าเส้นเดียวพบว่าสามาถใช้งานแบบ full duplex ที่ความเร็วถึง 1Gbps ได้ แต่เนื่องจาก BPL สามารถใช้งานได้กับทุกย่านความถี่ ตั้งแต่ความถี่ปานกลาง จนถึง 10GHz ดังนั้นการเลือกความถี่ที่เหมาะสม เทคโนโลยีนี้ก็จะไม่ไปรบกวนการให้บริการอื่น

• ใช้งานในกิจการของการไฟฟ้า
การไฟฟ้าสามารถนำเทคในโลยีนี้ไปใช้ในธุรกิจหรือการปฎิบัตงานของการไฟฟ้าเองได้ เช่น
การใช้ช่องสัญญาณ PLC ในการสั่งการให้ Protection relay ทำงานเมื่อเกิดเหตุขัดข้องในระบบจ่ายไฟฟ้า และนำมาใช้ในระบบสื่อสารภายในองค์กร และใช้ในการสั่งการ เพื่อใช้ในการ back up ช่องสัญญาณ นอกจากนี้ยังนำ PLC ที่มีอัตรา bit rate ต่ำมาใช้ในการอ่านหน่วยของมาตรวัดทางไฟฟ้าได้ด้วย

• ใช้ในการส่งกระจายเสียง
สามารถนำ PCL มาใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียงผ่านสายไฟฟ้าอย่างในประเทศรัสเซียหรือสายโทรศัพท์ในประเทศเยอรมัน และสวิสเซอร์แลนด์ ตัวอย่างของรายการวิทยุที่ส่งกระจายเสียงโดยใช้เทคโนโลยี PLC ในสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเรียกกันว่า “wire broadcasting”


เอกสารอ้างอิง
ไอทีเว็บKnowledge Center : http://www.it.co.th/internet2.php?act=plc#topplc

ทางเลือกหนึ่งของการให้บริการโทรคมนาคมเพื่อลดช่องว่าง Digital Divide
โดย สุเมธ อักษรกิตติ์ (วุฒิวิศวกรไฟฟ้ากำลัง) : http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=69397

ความเป็นไปได้ในประเทศไทย



          สำหรับประเทศไทยนั้นเรื่อง เทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้านนับว่ายังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะไกลตัวสำหรับคนไทย ไม่ว่าจะเป็นแง่ของเทคโนโลยี การประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั้งเรื่ององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง นับว่ายังมีอยู่น้อยในประเทศไทย เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีแบบอื่น ซึ่งได้รับความนิยม และมีแหล่งศึกษาหาความรู้อยู่มาก ง่ายต่อศึกษาค้นคว้า เพื่อการตัดสินใจในการใช้บริการการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน ถ้ามองในแง่ของการสร้างเครือข่ายที่เป็นในระบบการให้บริการด้าน internet เป็นหลัก  มีความเป็นไปได้สำหรับการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย เพราะเมื่อพิจารณาหลัการทำงานหรือว่าเทคโนโลยีที่ใช้ โดยอาศัยโครงข่ายการไฟฟ้าเป็นหลักทำการต้นทุนหรือว่าโคร้งสร้างพื้นฐานมีความพร้อมได้ระดับที่ค่อนข้างดี สำนักงานคณะกรรมได้รับการอนุมัติใบประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภท 3 ของ การไฟฟ้ฟาส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จากสำนักงานคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวจะอนุญาตให้กับผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง โดยมีบริการที่ครอบคลุมการให้บริการ Network Provider เช่น การให้เช่าใช้โครงข่ายใยแก้วนำแสง, ให้เช่าเครือข่ายเสมือนส่วนตัว (Virtual Private network), บริการสายเช่า (Lease Line) และ Service Provider เช่น บริการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้ากำลังส่งต่ำ (power line communication), โทรศัพท์ผ่านโครงข่าย IP เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนั้นมีหน่วยงาน หรือองค์กรที่กำลังให้ความสนใจเทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้านอันได้แก่ กฟภ. ซึ่งเป็นเจ้าของใบอนุญาตและเจ้าของโครงข่ายด้านไฟฟ้าของประเทศไทย และ กสท. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้าน internet ความเร็วสูง ( High speed internet) รายใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานหลัก ณ ปัจจุบันที่ให้ความสำคัญในเรื่อง เทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้านโดยมีรายละเอียดดังนี้


1. กฟภ. ซึ่งเป็นเจ้าของใบอนุญาต และเจ้าของโครงสร้างด้านไฟฟ้าส่วนใหญ่ของประเทศ  ที่ผ่านมา กฟภ.ได้ร่วมกับบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีในการคัดเลือกหมู่บ้านจัดสรรเพื่อทำโครงการนำร่อง โดยนำอุปกรณ์ไปติดตั้งเพื่อทดสอบทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ว่า

มีปัญหาอย่างไร เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งทาง กฟภ.ก็วางแผนว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2551 บริการดังกล่าวจะมีอุปกรณ์หลักที่จะอยู่ต้นทางของการเริ่มวางระบบทำหน้าที่เหมือนโมเด็ม เรียกว่ากล่อง TD เป็นกล่องที่รับและส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกับระบบสายไฟแรงดันต่ำ โดยอาจจะติดตั้งเพื่อส่งทอดและขยายสัญญาณเป็นระยะๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของสัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ตามบ้านเพียงแค่เสียบอุปกรณ์กล่อง TD ที่ปลั๊กไฟและต่อสายแลนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ที่มีปลั๊กไฟ โดยไม่ต้องเดินสายโทรศัพท์ให้วุ่นวาย ถือว่าเป็นมิติใหม่ของการให้บริการด้านโทรคมนาคมของ กฟภ. ซึ่งขณะนี้ได้มีการทำโครงการทดลองที่เป็นรูปธรรมอยู่ที่หมู่บ้านเรือนภิษา พัทยา แต่สำหรับบริการหลักของ กฟภ. ณ ปัจจุบันนั้นจะเน้นไปในทิศทางของการให้บริการนั้นจะให้บริการเช่าใช้โครงข่ายไปก่อน ส่วนบริการอื่นๆ กฟภ.จะต้องศึกษาถึงการลงทุน จุดคุ้มทุน เทคโนโลยี รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีองค์ความรู้ในเทคโน

โลยีดังกล่าวให้มีความชำนาญเพื่อการแก้ปัญหาและให้บริการกับผู้ใช้บริการ

2.   กสท. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้าน internet ความเร็วสูง ( High speed internet) รายใหญ่ในประเทศไทยได้มีข้อตกลงเพื่อเช่าโครงข่ายจาก กฟภ. เพื่อทำการทดลอง ให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า ซึ่งทาง บริษัท กสท จับมือกับ บริษัท อีคอมเมิซ บีสเน็ซ จากัด (ECB) ทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) ผ่านปลั๊กไฟในโครงการความร่วมมือการทดลองเชิงพาณิชย์เพื่อให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าว่า เบื้องต้นการทดลองให้บริการบรอด แบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าจะมุ่งนาร่องกลุ่มอาคารสานักงาน, คอนโดมิเนียม, อพาร์ตเมนต์ หอพัก และโรงแรม ในกรุงเทพฯ ก่อน เนื่องจากมีความพร้อมเรื่องของการต่อท่ออินเทอร์เน็ตเข้าตัวอาคาร ความร่วมมือนี้มีระยะเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย. 2550-31 ต.ค. 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณภาพการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า (Broadband over Power Line : BPL) โดยใช้อินเทอร์เน็ตใน บริการ HiNet ของ กสท ซึ่ง กสท มีหน้าที่จัดหา และติดตั้งอุปกรณ์ Head end เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่โครงข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนบริษัท อีคอมเมิซฯ รับผิดชอบในส่วนจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เพื่อนำสัญญาณอินเทอร์เน็ตกระจายไปยังจุดต่าง ๆ ของอาคาร โดยผ่านทางสายไฟฟ้า 220 โวลต์ โดยทางกสท. ขณะนี้ได้ทดลองให้บริการที่อาคารพาร์คแลนด์ เรสิเด้นซ์ รองเมือง ซึ่งมีทั้งหมด 208 ห้อง ของบริษัท นารายณ์ พร็อพเพอตี้  ถึงอย่างไรก็ตามทางกสท.ก็ต้องทำการบันทึกข้อมูลต่างๆ จากทดลองระบบเพื่อหาปัญหา และหาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์เพื่อหาแนวโน้มในการให้บริการด้าน internet  แบบ ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ โดยการเสียบปลั๊กก็สามารถใช้งานได้ในอนาคต

  ถึงแม้ว่าการมีเครือข่ายผ่านสายระบบไฟฟ้าภายในบ้านจะมีข้อดีในแง่ต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น แต่จากผลการศึกษา รวมไปถึงข้อมูลทางด้านวิชาการ ยังมีปัญหาอื่น ที่ติดขัดหรือว่าได้ผลที่ยังไม่เป็นที่พอใจซึ่งได้แก่ ความเสถียรของสัญญาณของเครือข่าย อันเนื่องมาจากการกวนกันของสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งอยู่ใกล้กันระหว่างสายสัญญาณของเครือข่าย และสายไฟฟ้าซึ่งทำการหาอุปกรณ์หรือว่าเทคโนโลยีที่ช่วยลดการกวนกันของสัญญาณ รวมไปถึงราคาค่าอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ได้การแปลงสัญญาณ หรือกล่อง TD (เป็นกล่องที่รับและส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกับระบบสายไฟแรงดันต่ำ โดยอาจจะติดตั้งเพื่อส่งทอดและขยายสัญญาณเป็นระยะๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของสัญญาณ internet) ให้มีราคาถูกเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง 

จะเห็นได้ว่าแม้ว่าระบบดังกล่าวจะอยู่ในขั้นตอนการทดลองระบบ รวมไปถึงข้อจำกัดด้าน ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่จะมีการแก้ไขปัญหาให้หมดไปในไม่ช้า อันเกิดจากการคิดค้น หรือการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกต่อชีวิตประจำวัน แต่แน้วโน้มเป็นไปในทิศทางที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่คนไทยจะได้ใช้ระบบเครือข่ายดังกล่าว

ดังนั้นแม้การนำเทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งมีข้อมูลการใช้ระบบจริงในต่างประเทศซึ่งผลการดำเนินงานอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพด้านเครือข่าย  ความรู้ของผู้ใช้งาน   และความสะดวกต่อการใช้งาน ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่องค์ประกอบหลายด้านในการนำมาประกอบเพื่อการตัดสินใจสำหรับการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกสถานที่หรือทุกสภาพแวดล้อมได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน การที่จะทำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยนั้นต้องมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครือข่าย เช่น หม้อแปลง กระแสไฟฟ้า หรือรวมไปถึงคลื่นความถี่ ต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ตลอดจนรวมไปถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวของประชาชนผู้รับบริการ ซึ่งแต่ละประเทศหรือแต่ละสภาพแวดล้อมล้วนแล้วมีความแตกต่างในด้านการศึกษา สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ค่านิยม หรือรวมไปทัศนคติในการรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ  ถึงแม้ว่าระบบด้านโครงสร้างพื้นฐาน ( ระบบนำส่งกระแสไฟฟ้า) จะมีความพร้อมอยู่แล้ว แต่เมื่อพิจารณาสำหรับอุปกรณ์เชื่อมต่อ ( คอมพิวเตอร์) ยังมีความกระจุกอยู่ในย่านชุมชน หรืออยู่ในตัวเมือง ซึงมีความพร้อมด้านตัวบุคคลเอง รวมไปถึงความสามารถในการชำระค่าบริการ

เพราะฉะนั้นหากมีการนำเทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน ( internet ) กันเฉพาะภายในชุมชนย่อมไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เพราะว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง มีการเทคโนโลยีหลายประเภทให้เลือกใช้เป็นการเพิ่มช่องทางเลือกเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ทางผู้เขียนก็เข้าว่าทางผู้ประกอบการเองย่อมคำนึงถึงขนาดของตลาด ค่าใช้จ่าย และต้นทุน แต่ถ้าหากมีข้อตกลงหรือการเสนอแนวทางจากทางภาครัฐไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเก็บภาษีด้านต่าง ๆ  ลดค่าอุปกรณ์ ( กล่อง TD) หรือแม้กระทั้งค่าเช่าสายไฟฟ้า 

ให้กับทางผู้ประกอบที่จะให้บริการ เพื่อทำให้ค่าบริการนั้นถูกลง เพื่อให้การขยายเครือข่ายออกไปสู่นอกเขตชุมชนเมืองไปยังต่างพื้นที่โดยอาศัยสายไฟฟ้า ซึ่งมีความครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงข้อมูลอย่างหลักหลายและเท่าเทียมกันผ่านทางเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน และเป็นการลดช่องว่างระหว่างชุมชนเมืองและชุมชนชนบท คงจะดีไม่น้อยทีเดียว..