วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

ความเป็นไปได้ในประเทศไทย



          สำหรับประเทศไทยนั้นเรื่อง เทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้านนับว่ายังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะไกลตัวสำหรับคนไทย ไม่ว่าจะเป็นแง่ของเทคโนโลยี การประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั้งเรื่ององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง นับว่ายังมีอยู่น้อยในประเทศไทย เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีแบบอื่น ซึ่งได้รับความนิยม และมีแหล่งศึกษาหาความรู้อยู่มาก ง่ายต่อศึกษาค้นคว้า เพื่อการตัดสินใจในการใช้บริการการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน ถ้ามองในแง่ของการสร้างเครือข่ายที่เป็นในระบบการให้บริการด้าน internet เป็นหลัก  มีความเป็นไปได้สำหรับการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย เพราะเมื่อพิจารณาหลัการทำงานหรือว่าเทคโนโลยีที่ใช้ โดยอาศัยโครงข่ายการไฟฟ้าเป็นหลักทำการต้นทุนหรือว่าโคร้งสร้างพื้นฐานมีความพร้อมได้ระดับที่ค่อนข้างดี สำนักงานคณะกรรมได้รับการอนุมัติใบประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภท 3 ของ การไฟฟ้ฟาส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จากสำนักงานคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวจะอนุญาตให้กับผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง โดยมีบริการที่ครอบคลุมการให้บริการ Network Provider เช่น การให้เช่าใช้โครงข่ายใยแก้วนำแสง, ให้เช่าเครือข่ายเสมือนส่วนตัว (Virtual Private network), บริการสายเช่า (Lease Line) และ Service Provider เช่น บริการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้ากำลังส่งต่ำ (power line communication), โทรศัพท์ผ่านโครงข่าย IP เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนั้นมีหน่วยงาน หรือองค์กรที่กำลังให้ความสนใจเทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้านอันได้แก่ กฟภ. ซึ่งเป็นเจ้าของใบอนุญาตและเจ้าของโครงข่ายด้านไฟฟ้าของประเทศไทย และ กสท. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้าน internet ความเร็วสูง ( High speed internet) รายใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานหลัก ณ ปัจจุบันที่ให้ความสำคัญในเรื่อง เทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้านโดยมีรายละเอียดดังนี้


1. กฟภ. ซึ่งเป็นเจ้าของใบอนุญาต และเจ้าของโครงสร้างด้านไฟฟ้าส่วนใหญ่ของประเทศ  ที่ผ่านมา กฟภ.ได้ร่วมกับบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีในการคัดเลือกหมู่บ้านจัดสรรเพื่อทำโครงการนำร่อง โดยนำอุปกรณ์ไปติดตั้งเพื่อทดสอบทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ว่า

มีปัญหาอย่างไร เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งทาง กฟภ.ก็วางแผนว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2551 บริการดังกล่าวจะมีอุปกรณ์หลักที่จะอยู่ต้นทางของการเริ่มวางระบบทำหน้าที่เหมือนโมเด็ม เรียกว่ากล่อง TD เป็นกล่องที่รับและส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกับระบบสายไฟแรงดันต่ำ โดยอาจจะติดตั้งเพื่อส่งทอดและขยายสัญญาณเป็นระยะๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของสัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ตามบ้านเพียงแค่เสียบอุปกรณ์กล่อง TD ที่ปลั๊กไฟและต่อสายแลนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ที่มีปลั๊กไฟ โดยไม่ต้องเดินสายโทรศัพท์ให้วุ่นวาย ถือว่าเป็นมิติใหม่ของการให้บริการด้านโทรคมนาคมของ กฟภ. ซึ่งขณะนี้ได้มีการทำโครงการทดลองที่เป็นรูปธรรมอยู่ที่หมู่บ้านเรือนภิษา พัทยา แต่สำหรับบริการหลักของ กฟภ. ณ ปัจจุบันนั้นจะเน้นไปในทิศทางของการให้บริการนั้นจะให้บริการเช่าใช้โครงข่ายไปก่อน ส่วนบริการอื่นๆ กฟภ.จะต้องศึกษาถึงการลงทุน จุดคุ้มทุน เทคโนโลยี รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีองค์ความรู้ในเทคโน

โลยีดังกล่าวให้มีความชำนาญเพื่อการแก้ปัญหาและให้บริการกับผู้ใช้บริการ

2.   กสท. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้าน internet ความเร็วสูง ( High speed internet) รายใหญ่ในประเทศไทยได้มีข้อตกลงเพื่อเช่าโครงข่ายจาก กฟภ. เพื่อทำการทดลอง ให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า ซึ่งทาง บริษัท กสท จับมือกับ บริษัท อีคอมเมิซ บีสเน็ซ จากัด (ECB) ทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) ผ่านปลั๊กไฟในโครงการความร่วมมือการทดลองเชิงพาณิชย์เพื่อให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าว่า เบื้องต้นการทดลองให้บริการบรอด แบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าจะมุ่งนาร่องกลุ่มอาคารสานักงาน, คอนโดมิเนียม, อพาร์ตเมนต์ หอพัก และโรงแรม ในกรุงเทพฯ ก่อน เนื่องจากมีความพร้อมเรื่องของการต่อท่ออินเทอร์เน็ตเข้าตัวอาคาร ความร่วมมือนี้มีระยะเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย. 2550-31 ต.ค. 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณภาพการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า (Broadband over Power Line : BPL) โดยใช้อินเทอร์เน็ตใน บริการ HiNet ของ กสท ซึ่ง กสท มีหน้าที่จัดหา และติดตั้งอุปกรณ์ Head end เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่โครงข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนบริษัท อีคอมเมิซฯ รับผิดชอบในส่วนจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เพื่อนำสัญญาณอินเทอร์เน็ตกระจายไปยังจุดต่าง ๆ ของอาคาร โดยผ่านทางสายไฟฟ้า 220 โวลต์ โดยทางกสท. ขณะนี้ได้ทดลองให้บริการที่อาคารพาร์คแลนด์ เรสิเด้นซ์ รองเมือง ซึ่งมีทั้งหมด 208 ห้อง ของบริษัท นารายณ์ พร็อพเพอตี้  ถึงอย่างไรก็ตามทางกสท.ก็ต้องทำการบันทึกข้อมูลต่างๆ จากทดลองระบบเพื่อหาปัญหา และหาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์เพื่อหาแนวโน้มในการให้บริการด้าน internet  แบบ ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ โดยการเสียบปลั๊กก็สามารถใช้งานได้ในอนาคต

  ถึงแม้ว่าการมีเครือข่ายผ่านสายระบบไฟฟ้าภายในบ้านจะมีข้อดีในแง่ต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น แต่จากผลการศึกษา รวมไปถึงข้อมูลทางด้านวิชาการ ยังมีปัญหาอื่น ที่ติดขัดหรือว่าได้ผลที่ยังไม่เป็นที่พอใจซึ่งได้แก่ ความเสถียรของสัญญาณของเครือข่าย อันเนื่องมาจากการกวนกันของสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งอยู่ใกล้กันระหว่างสายสัญญาณของเครือข่าย และสายไฟฟ้าซึ่งทำการหาอุปกรณ์หรือว่าเทคโนโลยีที่ช่วยลดการกวนกันของสัญญาณ รวมไปถึงราคาค่าอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ได้การแปลงสัญญาณ หรือกล่อง TD (เป็นกล่องที่รับและส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกับระบบสายไฟแรงดันต่ำ โดยอาจจะติดตั้งเพื่อส่งทอดและขยายสัญญาณเป็นระยะๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของสัญญาณ internet) ให้มีราคาถูกเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง 

จะเห็นได้ว่าแม้ว่าระบบดังกล่าวจะอยู่ในขั้นตอนการทดลองระบบ รวมไปถึงข้อจำกัดด้าน ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่จะมีการแก้ไขปัญหาให้หมดไปในไม่ช้า อันเกิดจากการคิดค้น หรือการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกต่อชีวิตประจำวัน แต่แน้วโน้มเป็นไปในทิศทางที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่คนไทยจะได้ใช้ระบบเครือข่ายดังกล่าว

ดังนั้นแม้การนำเทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งมีข้อมูลการใช้ระบบจริงในต่างประเทศซึ่งผลการดำเนินงานอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพด้านเครือข่าย  ความรู้ของผู้ใช้งาน   และความสะดวกต่อการใช้งาน ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่องค์ประกอบหลายด้านในการนำมาประกอบเพื่อการตัดสินใจสำหรับการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกสถานที่หรือทุกสภาพแวดล้อมได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน การที่จะทำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยนั้นต้องมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครือข่าย เช่น หม้อแปลง กระแสไฟฟ้า หรือรวมไปถึงคลื่นความถี่ ต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ตลอดจนรวมไปถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวของประชาชนผู้รับบริการ ซึ่งแต่ละประเทศหรือแต่ละสภาพแวดล้อมล้วนแล้วมีความแตกต่างในด้านการศึกษา สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ค่านิยม หรือรวมไปทัศนคติในการรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ  ถึงแม้ว่าระบบด้านโครงสร้างพื้นฐาน ( ระบบนำส่งกระแสไฟฟ้า) จะมีความพร้อมอยู่แล้ว แต่เมื่อพิจารณาสำหรับอุปกรณ์เชื่อมต่อ ( คอมพิวเตอร์) ยังมีความกระจุกอยู่ในย่านชุมชน หรืออยู่ในตัวเมือง ซึงมีความพร้อมด้านตัวบุคคลเอง รวมไปถึงความสามารถในการชำระค่าบริการ

เพราะฉะนั้นหากมีการนำเทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน ( internet ) กันเฉพาะภายในชุมชนย่อมไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เพราะว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง มีการเทคโนโลยีหลายประเภทให้เลือกใช้เป็นการเพิ่มช่องทางเลือกเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ทางผู้เขียนก็เข้าว่าทางผู้ประกอบการเองย่อมคำนึงถึงขนาดของตลาด ค่าใช้จ่าย และต้นทุน แต่ถ้าหากมีข้อตกลงหรือการเสนอแนวทางจากทางภาครัฐไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเก็บภาษีด้านต่าง ๆ  ลดค่าอุปกรณ์ ( กล่อง TD) หรือแม้กระทั้งค่าเช่าสายไฟฟ้า 

ให้กับทางผู้ประกอบที่จะให้บริการ เพื่อทำให้ค่าบริการนั้นถูกลง เพื่อให้การขยายเครือข่ายออกไปสู่นอกเขตชุมชนเมืองไปยังต่างพื้นที่โดยอาศัยสายไฟฟ้า ซึ่งมีความครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงข้อมูลอย่างหลักหลายและเท่าเทียมกันผ่านทางเครือข่ายผ่านระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน และเป็นการลดช่องว่างระหว่างชุมชนเมืองและชุมชนชนบท คงจะดีไม่น้อยทีเดียว..

 




ไม่มีความคิดเห็น: